ผศ.ประชิด ทิณบุตร และคณะผู้วิจัยลงพื้นที่วิจัยที่ชัยนาท วิจัยวิทยาแบบให้ชุมชนได้มีส่วนร่วม (Community Based participatory Research : CBPR) โดยให้ผู้เกี่ยวข้องและมีส่วนได้ส่วนเสียได้ร่วมให้ข้อมูล และร่วมตัดสินใจคัดเลือกผลงานโดยวิธีการประชุมสนทนากลุ่ม (Focus Groups) ในการตัดสินใจในผลงานการออกแบบพัฒนา ผลงานออกแบบพัฒนาตราสัญลักษณ์และรูปลักษณ์บรรจุภัณฑ์ใหม่ ของวิสาหกิจชุมชนกลุ่มทำสมุนไพรและศิลปะประดิษฐ์ บ้านคลองมอญ อำเภอวัดสิงห์ จังหวัดชัยนาท สร้างแบรนด์ใหม่ชื่อ Klongmorn Herb โดยการ บรรยาย นำเสนอแนะแนวทางการพัฒนาต่อยอดการสร้างสรรค์คุณภาพผลิตภัณฑ์ การร่วมวิพากษ์ การสาธิตและร่วมผลิตสบู่สมุนไพร การร่วมแสดงความคิดเห็นแบบสนทนากลุ่มย่อย และส่งมอบชุดทดลองตลาดให้ไปดำเนินการต่อยอดทางธุรกิจที่เข้มแข็งและพึงพาตนเองได้ต่อไป 6-8-2558
ทีมงานวิจัย
ผศ.ประชิด ทิณบุตร หัวหน้าโครงการวิจัย
นายธีระชัย สุขสวัสดิ์ ผู้ร่วมวิจัย
นายอดิสรณ์ สมนึกแท่น ผู้ร่วมวิจัย
นายคณาศักดิ์ พงษ์พาลี ผู้ช่วยวิจัย (ศิษย์เก่า)
นายดนุนัย พลศรี นักศึกษาช่วยงานวิจัย ชั้นปีที่ 4
นางสาวบุญญานุช วิชาชัย นักศึกษาช่วยงานวิจัย ชั้นปีที่ 4
สาขาวิชาศิลปกรรม คณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏจันทรเกษม กทม.
Sunday, 16 August 2015
Tuesday, 14 July 2015
สรรพคุณสมุนไพรการบูร
ชื่อสามัญ (ชื่อภาษาอังกฤษ) : Camphor
ชื่ออื่น : อบเชยญวน พรมเส็ง
ชื่อวิทยาศาสตร์ : Cinnamomum camphora (L.) Presl
ชื่อวงศ์ : Lauraceaeส่วนที่ใช้ : ผลึก น้ำมันหอมระเหย
ลักษณะทางพฤกษศาสตร์ : ไม้ยืนต้น ขนาดใหญ่ สูงได้ถึง 30 เมตร ทุกส่วนมีกลิ่นหอม โดยเฉพาะที่ราก และโคนต้น ทรงพุ่มกว้าง ทึบ ลำต้นมีขนาดเส้นผ่าศูนย์กลางถึง 1.5 เมตร
* เปลือกต้นสีน้ำตาล ผิวหยาบ เปลือกกิ่งสีเขียว หรือน้ำตาลอ่อน ลำต้นและกิ่งเรียบ ไม่มีขน เนื้อไม้สีน้ำตาลปนแดง
* ใบเดี่ยว ออกเรียงสลับ รูปรี หรือรูปรีแกมรูปไข่ กว้าง 2.5-5.5 เซนติเมตร ยาว 5.5-15 เซนติเมตร ปลายใบเรียวแหลม โคนใบป้านหรือกลม ขอบใบเรียบหรือเป็นคลื่นเล็กน้อย แผ่นใบค่อนข้างเหนียว ด้านบนสีเขียวเข้ม เป็นมัน ด้านล่างสีเขียวอมเทาหรือนวล ไม่มีขน เมื่อขยี้จะมีกลิ่นหอมคล้ายกลิ่นการบูร เส้นใบขึ้นตรงมาจากโคนใบประมาณ 3-8 มิลลิเมตร แล้วแยกออกเป็น 3 เส้น ตรงมุมที่มีเส้นใบแยกออกนั้นมีต่อม 2 ต่อม และตามเส้นกลางใบอาจมีต่อมเกิดขึ้นตรงมุมที่มีเส้นใบแยกออกไป ก้านใบยาว 2-3 เซนติเมตร ไม่มีขน ตาใบมีเกล็ดซ้อนเหลื่อมหุ้มอยู่ เกล็ดชั้นนอกเล็กกว่าเกล็ดชั้นในตามลำดับ
* ดอกช่อแบบแยกแขนงออกตามเป็นกระจุกบริเวณง่ามใบ ดอกเล็กสีขาวอมเหลืองหรืออมเขียว ก้านดอกสั้นมาก กลีบรวมมี 6 กลีบ เรียงเป็น 2 วง วงละ 3 กลีบ รูปรี ปลายมน ด้านนอกเกลี้ยง ด้านในมีขนละเอียด เกสรเพศผู้มี 9 อัน เรียงเป็น 3 วง วงละ 3 อัน อับเรณูของวงที่ 1 และวงที่ 2 หันหน้าเข้าด้านใน ก้านเกสรมีขน ส่วนอับเรณูของวงที่ 3 หันหน้าออกด้านนอก ก้านเกสรค่อนข้างใหญ่ มีต่อม 2 ต่อมอยู่ใกล้โคนก้าน ต่อมรูปไข่กว้างและมีก้าน อับเรณูมีช่องเปิด 4 ช่อง เรียงเป็น 2 แถว แถวละ 2 ช่อง มีลิ้นเปิดทั้ง 4 ช่อง เกสรเพศผู้เป็นหมันมี 3 อัน อยู่ด้านในสุด รูปร่างคล้ายหัวลูกศร มีขนแต่ไม่มีต่อม รังไข่รูปไข่ ไม่มีขน ก้านเกสรเพศเมียยาวประมาณ 1 มิลลิเมตร ไม่มีขน ปลายเกสรเพศเมียกลม ใบประดับเรียวยาว ร่วงง่าย มีขนอ่อนนุ่ม
* ผลรูปไข่ หรือกลม เป็นผลมีเนื้อ ยาว 6-10 มิลลิเมตร สีเขียวเข้ม เมื่อสุกเปลี่ยนเป็นสีดำ มีฐานดอกซึ่งเจริญเติบโตขึ้นมาเป็นแป้นรองรับผล
* มีเมล็ด 1 เมล็ด ออกดอกราวเดือนมิถุนายนถึงกรกฎาคม
* เป็นผลึกที่แทรกอยู่ในเนื้อไม้ของต้นการบูร ที่เกิดอยู่ทั่วไปทั้งต้น มักจะอยู่ตามรอยแตกของเนื้อไม้ มีมากที่สุดในแก่นของรากรองลงมาที่แก่นของต้น ส่วนที่อยู่ใกล้โคนต้นจะมีการบูรมากกว่าส่วนที่อยู่สูงขึ้นมา ในใบและยอดอ่อนมีการบูรอยู่น้อย ในใบอ่อนจะมีน้อยกว่าใบแก่ ผงการบูรเป็นเกล็ดกลมเล็ก ๆ สีขาวแห้ง อาจจับกันเป็นก้อนร่วน ๆ แตกง่าย ทิ้งไว้ในอากาศ จะระเหิดไปหมด มีรสร้อนปร่า
สรรพคุณการบูร
ตำรายาไทยเนื้อไม้ นำมากลั่นจะได้ “การบูร”รสร้อนปร่าเมา ใช้ทาถูนวดแก้ปวด แก้เคล็ดบวม ขัดยอก แพลง แก้กระตุก แก้ปวดข้อ แก้ปวดเส้นประสาท แก้รอยผิวหนังแตก แก้พิษแมลงต่อย และโรคผิวหนังเรื้อรัง เป็นยาระงับเชื้ออย่างอ่อน ขับเหงื่อ ขับเสมหะ ขับปัสสาวะ แก้ไข้หวัด และขับลม บำรุงธาตุ บำรุงกำหนัด ยากระตุ้นหัวใจ บำรุงหัวใจ เป็นยาชาเฉพาะที่ เป็นยาระงับประสาท แก้อาการชักบางประเภท ใช้ผสมเป็นยาเพื่อป้องกันแมลงบางชนิด เปลือกและราก กลั่นได้การบูร ใช้ 1-2 เกรน แก้ปวดขัดตามเส้นประสาท ข้อบวมเป็นพิษ แก้เคล็ดบวม เส้นสะดุ้ง กระตุก ขัดยอกแพลง แก้ปวดท้อง ท้องร่วง ขับน้ำเหลือง แก้เลือดลม บำรุงกำหนัด ขับเหงื่อ ขับเสมะหะ บำรุงธาตุ แก้โรคตา กระจายลม ขับผายลม นำมาผสมเป็นขี้ผึ้ง เป็นยาร้อน ใช้ทาแก้เพื่อถอนพิษอักเสบเรื้อรัง ปวดยอกตามกล้ามเนื้อ สะบักจม ทรวงอก ปวดร้าวตามเส้นเอ็น โรคปวดผิวหนัง รอยผิวแตกในช่วงฤดูหนาว แก้พิษสัตว์กัดต่อย
1. ผงการบูรใช้ทำเครื่องหอมประเภทไล่ยุงและแมลง
2. ผงการบูรผสมเป็นตัวดับกลิ่นอับ
3. การบูรใช้ทาถูนวดแก้ปวด
4. การบูรใช้บรรเทาอาการเคล็ดบวม ขัดยอก
5. แก้กระตุก ปวดข้อ ปวดเส้นประสาท
6. การบูรแก้รอยผิวหนังแตก
7. การบูรใช้แก้พิษแมลงต่อย
8. ใช้แก้โรคผิวหนังเรื้อรัง เป็นยาระงับเชื้ออย่างอ่อน
9. ช่วยขับเหงื่อ ขับเสมหะ ขับปัสสาวะ แก้ไข้หวัดและขับลม
10. การบูรบำรุงธาตุ บำรุงกำหนัด
11. ใช้เป็นยากระตุ้นหัวใจ บำรุงหัวใจ
12. เป็นยาชาเฉพาะที่ เป็นยาระงับประสาท
13. การบูรช่วยแก้อาการชักบางประเภท
14. ใช้ผสมเป็นยาเพื่อป้องกันแมลงบางชนิด
15. แก้ปวดท้อง ท้องร่วง
16. ขับน้ำเหลือง แก้เลือดลม
17. แก้โรคตา กระจายลม ขับผายลม
18. นำมาผสมเป็นขี้ผึ้ง เป็นยาร้อน ใช้ทาเพื่อ
ถอนพิษอักเสบเรื้อรัง ปวดยอกตามกล้ามเนื้อสะบักจม
19. ทรวงอก ปวดร้าวตามเส้นเอ็น
20. โรคปวดผิวหนัง รอยผิวแตกในช่วงฤดูหนาว
21. การบูรมีฤทธิ์ช่วยต้านแบคทีเรีย
Tuesday, 30 June 2015
Monday, 15 June 2015
ตัวสินค้าของกลุ่มสมุนไพรและศิลป์ประดิษฐ์บ้านคลองมอญ
สมุนไพร หมายถึง "ผลิตผลธรรมชาติ ได้จาก พืช สัตว์ และ แร่ธาตุ ที่ใช้เป็นยา หรือผสมกับสารอื่นตามตำรับยา เพื่อบำบัดโรค บำรุง ร่างกาย หรือใช้เป็นยาพิษ" หากนำเอาสมุนไพรตั้งแต่สองชนิดขึ้นไปมาผสมรวมกันซึ่งจะเรียกว่า ยา ในตำรับยา นอกจากพืชสมุนไพรแล้วยังอาจประกอบด้วยสัตว์และแร่ธาตุอีกด้วย เราเรียกพืช สัตว์ หรือแร่ธาตุที่เป็นส่วนประกอบของยานี้ว่า เภสัชวัตถุ พืชสมุนไพรบางชนิด เช่น เร่ว กระวานกานพลู และจันทน์เทศ เป็นต้น พืชเหล่านี้ถ้านำมาปรุงอาหารเราจะเรียกว่า เครื่องเทศ
ความหมาย
ความหมาย
คำว่า สมุนไพร ตามพจนานุกรมฉบับราชบัณฑิตยสถาน พ.ศ. 2525 หมายถึง พืชที่ใช้ ทำเป็นเครื่องยา สมุนไพรกำเนิดมาจากธรรมชาติและมีความหมายต่อชีวิตมนุษย์โดยเฉพาะ ในทางสุขภาพ อันหมายถึงทั้งการส่งเสริมสุขภาพและการรักษาโรค ความหมายของยาสมุนไพรในพระราชบัญญัติยา พ.ศ. 2510 ได้ระบุว่า ยาสมุนไพร หมายความว่า ยาที่ได้จากพฤกษาชาติสัตว์หรือแร่ธาตุ ซึ่งมิได้ผสมปรุงหรือแปรสภาพ เช่น พืชก็ยังเป็นส่วนของราก ลำต้น ใบ ดอก ผลฯลฯ ซึ่งมิได้ผ่านขั้นตอนการแปรรูปใด ๆ แต่ในทางการค้า สมุนไพรมักจะถูกดัดแปลงในรูปแบบต่าง ๆ เช่น ถูกหั่นให้เป็นชิ้นเล็กลง บดเป็นผงละเอียด หรืออัดเป็นแท่งแต่ในความรู้สึกของคนทั่วไปเมื่อกล่าวถึงสมุนไพร มักนึกถึงเฉพาะต้นไม้ที่นำมาใช้เป็นยาเท่านั้น
ลักษณะ
พืชสมุนไพร นั้นตั้งแต่โบราณก็ทราบกันดีว่ามีคุณค่าทางยามากมายซึ่ง เชื่อกันอีกด้วยว่า ต้นพืชต่าง ๆ ก็เป็นพืชที่มีสารที่เป็นตัวยาด้วยกันทั้งสิ้นเพียงแต่ว่าพืชชนิดไหนจะมีคุณค่าทางยามากน้อยกว่ากันเท่านั้น
พืชสมุนไพร หรือวัตถุธาตุนี้ หรือตัวยาสมุนไพรนี้ แบ่งออกเป็น 5 ประการ ดังนี้
1. รูป ได้แก่ ใบไม้ ดอกไม้ เปลือกไม้ แก่นไม้ กระพี้ไม้ รากไม้ เมล็ด
2. สี มองแล้วเห็นว่าเป็นสีเขียวใบไม้ สีเหลือง สีแดง สีส้ม สีม่วง สีน้ำตาล สีดำ
3. กลิ่น ให้รู้ว่ามรกลิ่น หอม เหม็น หรือกลิ่นอย่างไร
4. รส ให้รู้ว่ามีรสอย่างไร รสจืด รสฝาด รสขม รสเค็ม รสหวาน รสเปรี้ยว รสเย็น
5. ชื่อ ต้องรู้ว่ามีชื่ออะไรในพืชสมุนไพรนั้น ๆ ให้รู้ว่า ขิงเป็นอย่างไร ข่า เป็นอย่างไร ใบขี้เหล็กเป็น อย่างไร
สรรพคุณใช้ดับกลิ่นห้อง ตู้เสื้อผ้าและรถยนต์ ที่เหม็นอับชื้น เพิ่มความหอมสดชื่นจากกลิ่นหอมของสมุนไพรธรรมชาติ ใช้ทำความสะอาดเท้า ช่วยในการทำความสะอาดเท้า รักษาแผลสด สมานแผล ฆ่าเชื้อโรค ลดการอักเสบ รักษากลากเกลื้อนและดับกลิ่นเท้า
ส่วนผสมผงสมุนไพรดับกลิ่นจากธรรมชาติ 100%
● ผิวมะกรูด 50 กรัม
● ตะไคร้บด 50 กรัม
● อบเชยบด 50 กรัม
● ทองพันชั่ง 50 กรัม
● ชุมเห็ดเทศ 50 กรัม
● สารส้ม 25 กรัม
● เกลือ 25 กรัม
● พิมเสน 50 กรัม
● การบูร 50 กรัม
● น้ำมันหอมระเหย 50 กรัม (เลือกกลิ่นที่ชอบ)
► วิธีใช้สมุนไพรดูดซับกลิ่นจากธรรมชาติ 100%
1. นำสมุนไพรข้อ 1-6 ซึ่งเป็นสมุนไพรอบแห้ง บดให้ละเอียดแล้วนำมาผสมกัน
2. นำน้ำมันหอมระเหยผสมสมุนไพร คนให้เข้ากันอย่าให้จับเป็นก้อน
3. หลังจากนั้นนำมาผสมเกลือ พิมเสนและการบูร บรรจุใส่ในบรรจุภัณฑ์ ปิดผนึกให้สนิทอย่าให้กลิ่นออก เมื่อต้องการใช้ให้แกะสมุนไพรดูดซับกลิ่นออกจากบรรจุภัณฑ์
► วิธีใช้สมุนไพรดูดซับกลิ่นจากธรรมชาติ 100%
●ใช้ดับกลิ่นห้อง ตู้เสื้อผ้า รถยนต์ ที่เหม็นอับชื้น เพิ่มความหอมสดชื่นจากกลิ่นหอมของสมุนไพรธรรมชาติ โดยแกะสมุนไพรดูดซับกลิ่นจากธรรมชาติออกมา แขวนทิ้งไว้
1. นำสมุนไพรข้อ 1-6 ซึ่งเป็นสมุนไพรอบแห้ง บดให้ละเอียดแล้วนำมาผสมกัน
2. นำน้ำมันหอมระเหยผสมสมุนไพร คนให้เข้ากันอย่าให้จับเป็นก้อน
3. หลังจากนั้นนำมาผสมเกลือ พิมเสนและการบูร บรรจุใส่ในบรรจุภัณฑ์ ปิดผนึกให้สนิทอย่าให้กลิ่นออก เมื่อต้องการใช้ให้แกะสมุนไพรดูดซับกลิ่นออกจากบรรจุภัณฑ์
► วิธีใช้สมุนไพรดูดซับกลิ่นจากธรรมชาติ 100%
●ใช้ดับกลิ่นห้อง ตู้เสื้อผ้า รถยนต์ ที่เหม็นอับชื้น เพิ่มความหอมสดชื่นจากกลิ่นหอมของสมุนไพรธรรมชาติ โดยแกะสมุนไพรดูดซับกลิ่นจากธรรมชาติออกมา แขวนทิ้งไว้
ข้อมูลเกี่ยวกับผลิตภัณฑ์
ชื่อสินค้า : ผลิตภัณฑ์สมุนไพรปรับกลิ่นอากาศ
ประเภท : ผลิตภัณฑ์แปรรูปจากสมุนไพร
ส่วนประกอบ : มะกรูด ถ่าน การบูร
ราคา : 25 บาท/ 1 ชิ้น
วัสดุหลัก : กระดาษสา
สี : เขียว ขวา
ขนาด : 8x12 เซนติเมตร
ผู้ผลิต : กลุ่มทำสมุนไพรและศิลป์ประดิษฐ์
ที่อยู่ : บ้านคลองมอญ ต.มะขามเฒ่า อ.วัดสิงห์ จ.ชัยนาท 17120
โทร : 056-475567,087-2071795
ธูปหอมอินธนู
1.ชื่อ-สกุล ผู้ประกอบการ
กลุ่มทำสมุนไพรและศิลประดิษฐ์
คุณ สินมงคล อินธนู (ประธานกลุ่ม)
2.ที่อยู่
58 ม.4 ต.มะขามเฒ่า อ.วัดสิงห์ จ.ชัยนาท 17120
3.หมายเลขโทรศัพท์
056-475567,087-2071795
4.e-mail/website
ไม่มี
ผลิตภัณฑ์
ผลิตภัณฑ์ปัจจุบันของกลุ่มทำสมุนไพรบ้านคลองมอญที่ต้องการนำมาเข้าร่วมโครงการออกแบบพัฒนาตราสัญลักษณ์และรูปลักษณ์บรรจุภัณฑ์เพื่อเชื่อมโยงการท่องเที่ยวเชิงวัฒนธรรมสำหรับผลิตภัณฑ์สุขภาพและความงามของกลุ่มวิสาหกิจชุมชน จังหวัดชัยนาท คือ ผลิตภัณฑ์ธูปหอมไล่ยุง ผลิตภัณฑ์จากธรรมชาติ บรรจุภัณฑ์ มี 3 ขนาด คือ
1. ขนาดเล็ก 9x29.5 cm.
2. ขนาดกลาง 9x38.5 cm.
3. ขนาดใหญ่ 9x40.5 cm.
กลุ่มทำสมุนไพรและศิลประดิษฐ์
คุณ สินมงคล อินธนู (ประธานกลุ่ม)
2.ที่อยู่
58 ม.4 ต.มะขามเฒ่า อ.วัดสิงห์ จ.ชัยนาท 17120
3.หมายเลขโทรศัพท์
056-475567,087-2071795
4.e-mail/website
ไม่มี
ผลิตภัณฑ์
ผลิตภัณฑ์ปัจจุบันของกลุ่มทำสมุนไพรบ้านคลองมอญที่ต้องการนำมาเข้าร่วมโครงการออกแบบพัฒนาตราสัญลักษณ์และรูปลักษณ์บรรจุภัณฑ์เพื่อเชื่อมโยงการท่องเที่ยวเชิงวัฒนธรรมสำหรับผลิตภัณฑ์สุขภาพและความงามของกลุ่มวิสาหกิจชุมชน จังหวัดชัยนาท คือ ผลิตภัณฑ์ธูปหอมไล่ยุง ผลิตภัณฑ์จากธรรมชาติ บรรจุภัณฑ์ มี 3 ขนาด คือ
1. ขนาดเล็ก 9x29.5 cm.
2. ขนาดกลาง 9x38.5 cm.
3. ขนาดใหญ่ 9x40.5 cm.
ข้อมูลทั่วไปเกี่ยวกับตัวผลิตภัณฑ์
1.ชื่อผลิตภัณฑ์ : สมุนไพรใช้จุดไล่ยุง
2. ประเภท : สมุนไพรที่ไม่ใช่อาหาร
3.ส่วนประกอบ : ตะไคร้หอม ขี้เลื่อย กาวผง
4. ประโยขน์ : เพื่อใช้จุดไล่ยุง
5. คุณสมบัติ : เป็นผลิตภัณฑ์จากธรรมชาติ ใช้จุดไล่ยุง ปลอดภัย ไม่มีสารตกค้าง
6. ผลิตโดย : กลุ่มทำสมุนไพรและศิลประดิษฐ์
7. ที่อยู่ : 58 หมู่ 4 ต.มะขามเฒ่า อ.วัดสิงห์ จ.ชัยนาท 17120 โทร. 056-475567,087-2071795
8.การจัดจำหน่าย : สวนนกชัยนาถ, ร้าน CEO, วัดปากคลอง
9.ราคา : ขนาดเล็ก (S) 20 บาท
ขนาดกลาง (M) 20 บาท
ขนาดใหญ่ (L) 20 บาท
ตราสัญลักษณ์และมาตรฐานที่ได้รับ
1. มาตรฐานผลิตภัณฑ์ชุมชน (มผช) ทะเบียนเลขที่ 181/2553
2. ช่วงปีที่ได้รับอนุญาติใช้ 2556-2557
3.เครื่องหมายโอทอประดับ 2 ดาว เมื่อปี 2556
ปัญหาที่ต้องการพัฒนา
จุดอ่อน : สมุนไพรต้องไม่อับชื่น เพราะถ้าหากฝนตกหรือเปียกจะทำให้เกิดเชื้อราได้
จุดแข็ง : เป็นสินค้าที่ชาวบ้านในชุมชนร่วมกันทำ สมุนไพรที่ใช้ผลิตเป็นสมุนไพรที่ชาวบ้าน ปลูกกันเอง ปลอดสารเคมียาฆ่าแมลง
อุปสรรค : ผลิตได้ช้า เพราะเป็นสินค้าทำด้วยมือ
โอกาส : อยากให้สินค้าส่งออกนอกจังหวัด
ความต้องการของผู้ประกอบการ
1. อยากให้ตัวบรรจุภัณฑ์สามารถมองเห็นตัวผลิตภัณฑ์ด้านในได้
2. อยากให้ออกแบบโลโก้ธูปหอมอินธนู
ปัจจุบันสภาพ/ปัญหาที่เกิดขึ้น/ความต้องการพัฒนาสินค้า
1.ปัจจุบันสภาพของบรรจุภัณฑ์เป็นถุงพลาสติกใสมีการเย็บแทกด้วยแม็กและมีการพิมพ์ข้อความโดยใช้กระดาษ 80 แกรม
2.ปัจจุบันสภาพของผลิตภัณฑ์เป็นแท่งทำมาจาก ตระไคร้หอมบดผสมกับกาวผงและขี้เลื่อย และนำมาปั้นให้ติดกับไม้ไผ่
ปัญหาที่เกิดขึ้น
1.ปัญหาเรื่องแบรนด์ของสินค้าเนื่องจากผู้ประกอบการต้องการใช้นามสกุลของตนเองเพื่อมาทำเป็นแบรนด์ของสินค้า
2. ผู้ประกอบการยังไม่มีความรู้ความเข้าใจในการออกแบบพัฒนาบรรจุภัณฑ์
ความต้องการพัฒนาผลิตภัณฑ์
1.ต้องการให้ออกแบบแบรนด์สินค้าเป็นธูปหอมอินธนู
2.ต้องการให้สินค้าส่งออกนอกจังหวัด
กลุ่มทำสมุนไพรและศิลป์ประดิษฐ์บ้านคลองมอญ
ชื่อประธานกลุ่ม นางสินมงคล อินธนู (พี่น้อย)
1.ชื่อ-สกุลผู้ประกอบการกลุ่มกลุ่มทำสมุนไพรและศิลป์ประดิษฐ์บ้านคลองมอญ
นางสินมงคล อินธนู (พี่น้อย)056-475567,087-2071795
2.ที่อยู่
58 หมู่4 ตำบลมะขามเฒ่า อำเภอวัดสิงห์ จังหวัดชัยนาท 17120
3.หมายเลขโทรศัพท์และโทรสาร
กลุ่มทำสมุนไพรและศิลป์ประดิษฐ์บ้านคลองมอญ
หมายเลขโทรศัพท์ 056-475567,087-2071795
4.E-mail /Website
***ยังไม่มีอีเมล์หรือเว็บไซต์***
ผลิตภัณฑ์ปัจจุบัน
ผลิตภัณฑ์ปัจจุบันของกลุ่มกลุ่มทำสมุนไพรและศิลป์ประดิษฐ์บ้านคลองมอญ ที่ต้องการนำมาออกแบบพัฒนากราฟิกสำหรับบรรจุภัณฑ์ คือผลิตภัณฑ์ธูปหอมและสมุนไพรปรับกลิ่นอากาศ มีบรรจุภัณฑ์2ตัว 6 ขนาด
1.แบบถุงพลาสติกใส่ปิดผนึกด้วยลวดเย็บ ขนาด 10x30 ซม.
2.แบบถุงพลาสติกใส่ปิดผนึกด้วยลวดเย็บ ขนาด 9.5x24 ซม.
3.แบบถุงพลาสติกใส่ปิดผนึกด้วยลวดเย็บ ขนาด 7x14 ซม.
4.แบบถุงพลาสติกใส่ปิดผนึกด้วยลวดเย็บ ขนาด 8x16 ซม.
5.แบบถุงพลาสติกใส่ปิดผนึกด้วยลวดเย็บ ขนาด 6x12 ซม.
Friday, 12 June 2015
ประวัติความเป็นมา
กลุ่มทำสมุนไพรและศิลป์ประดิษฐ์บ้านคลองมอญอําเภอ วัดสิงห์ จังหวัดชัยนาท
คําขวัญอําเภอ
หลวงปู่ศุขมิ่งเมือง นามกระเดื่องเครื่องจักสาน ขนมหวานตํานานไทย ต้นน้ําใหญ่ท่าจีน
ประวัติความเป็นมา ตําบลมะขามเฒ่า
ที่ว่าการอําเภอวัดสิงห์ในสมัยก่อนไม่มีที่ทําการแน่นอน ต่อมาประมาณก่อนปี พ.ศ.2450 ได้มีการก่อสร้างอําเภอขึ้นเป็นครั้งแรกในที่ดินของหลวงชิงและคุณยายอึ่งในสมัยของหลวงไชยเข (พระยาธานินทร์ดกกิจ) นายอําเภอคนแรกที่ว่าการอําเภอวัดสิงห์หลังแรกตั้งอยู่บนฝั่งขวาของแม่น้ําท่าจีนเป็นอาคารไม้ปัจจุบันเป็นที่ตั้งของสํานักงานเทศบาลตําบลวัดสิงห์ เมื่อปี พ.ศ.2500 ได้มีการสร้างอาคารหลังใหม่เป็นอาคารไม้ 2 ชั้น ตั้งอยู่ที่หมู่ 3 ตําบลมะขามเฒ่า เนื้อที่ ประมาณ40 ไร่ ต่อมาเมื่อปี พ.ศ.2545 ได้มีการสร้างที่ว่าอําเภอหลังใหม่เป็นอาคารคอนกรีต 2 ชั้น เนื่องจากอาคารเดิมชํารุดทรุดโทรม ซึ่งได้เปิดใช้อาคารเป็นทางการเมื่อวันที่ 11 กันยายน 2546 เป็นที่มา
Subscribe to:
Posts (Atom)