สมุนไพร หมายถึง "ผลิตผลธรรมชาติ ได้จาก พืช สัตว์ และ แร่ธาตุ ที่ใช้เป็นยา หรือผสมกับสารอื่นตามตำรับยา เพื่อบำบัดโรค บำรุง ร่างกาย หรือใช้เป็นยาพิษ" หากนำเอาสมุนไพรตั้งแต่สองชนิดขึ้นไปมาผสมรวมกันซึ่งจะเรียกว่า ยา ในตำรับยา นอกจากพืชสมุนไพรแล้วยังอาจประกอบด้วยสัตว์และแร่ธาตุอีกด้วย เราเรียกพืช สัตว์ หรือแร่ธาตุที่เป็นส่วนประกอบของยานี้ว่า เภสัชวัตถุ พืชสมุนไพรบางชนิด เช่น เร่ว กระวานกานพลู และจันทน์เทศ เป็นต้น พืชเหล่านี้ถ้านำมาปรุงอาหารเราจะเรียกว่า เครื่องเทศ
ความหมาย
ความหมาย
คำว่า สมุนไพร ตามพจนานุกรมฉบับราชบัณฑิตยสถาน พ.ศ. 2525 หมายถึง พืชที่ใช้ ทำเป็นเครื่องยา สมุนไพรกำเนิดมาจากธรรมชาติและมีความหมายต่อชีวิตมนุษย์โดยเฉพาะ ในทางสุขภาพ อันหมายถึงทั้งการส่งเสริมสุขภาพและการรักษาโรค ความหมายของยาสมุนไพรในพระราชบัญญัติยา พ.ศ. 2510 ได้ระบุว่า ยาสมุนไพร หมายความว่า ยาที่ได้จากพฤกษาชาติสัตว์หรือแร่ธาตุ ซึ่งมิได้ผสมปรุงหรือแปรสภาพ เช่น พืชก็ยังเป็นส่วนของราก ลำต้น ใบ ดอก ผลฯลฯ ซึ่งมิได้ผ่านขั้นตอนการแปรรูปใด ๆ แต่ในทางการค้า สมุนไพรมักจะถูกดัดแปลงในรูปแบบต่าง ๆ เช่น ถูกหั่นให้เป็นชิ้นเล็กลง บดเป็นผงละเอียด หรืออัดเป็นแท่งแต่ในความรู้สึกของคนทั่วไปเมื่อกล่าวถึงสมุนไพร มักนึกถึงเฉพาะต้นไม้ที่นำมาใช้เป็นยาเท่านั้น
ลักษณะ
พืชสมุนไพร นั้นตั้งแต่โบราณก็ทราบกันดีว่ามีคุณค่าทางยามากมายซึ่ง เชื่อกันอีกด้วยว่า ต้นพืชต่าง ๆ ก็เป็นพืชที่มีสารที่เป็นตัวยาด้วยกันทั้งสิ้นเพียงแต่ว่าพืชชนิดไหนจะมีคุณค่าทางยามากน้อยกว่ากันเท่านั้น
พืชสมุนไพร หรือวัตถุธาตุนี้ หรือตัวยาสมุนไพรนี้ แบ่งออกเป็น 5 ประการ ดังนี้
1. รูป ได้แก่ ใบไม้ ดอกไม้ เปลือกไม้ แก่นไม้ กระพี้ไม้ รากไม้ เมล็ด
2. สี มองแล้วเห็นว่าเป็นสีเขียวใบไม้ สีเหลือง สีแดง สีส้ม สีม่วง สีน้ำตาล สีดำ
3. กลิ่น ให้รู้ว่ามรกลิ่น หอม เหม็น หรือกลิ่นอย่างไร
4. รส ให้รู้ว่ามีรสอย่างไร รสจืด รสฝาด รสขม รสเค็ม รสหวาน รสเปรี้ยว รสเย็น
5. ชื่อ ต้องรู้ว่ามีชื่ออะไรในพืชสมุนไพรนั้น ๆ ให้รู้ว่า ขิงเป็นอย่างไร ข่า เป็นอย่างไร ใบขี้เหล็กเป็น อย่างไร
สรรพคุณใช้ดับกลิ่นห้อง ตู้เสื้อผ้าและรถยนต์ ที่เหม็นอับชื้น เพิ่มความหอมสดชื่นจากกลิ่นหอมของสมุนไพรธรรมชาติ ใช้ทำความสะอาดเท้า ช่วยในการทำความสะอาดเท้า รักษาแผลสด สมานแผล ฆ่าเชื้อโรค ลดการอักเสบ รักษากลากเกลื้อนและดับกลิ่นเท้า
ส่วนผสมผงสมุนไพรดับกลิ่นจากธรรมชาติ 100%
● ผิวมะกรูด 50 กรัม
● ตะไคร้บด 50 กรัม
● อบเชยบด 50 กรัม
● ทองพันชั่ง 50 กรัม
● ชุมเห็ดเทศ 50 กรัม
● สารส้ม 25 กรัม
● เกลือ 25 กรัม
● พิมเสน 50 กรัม
● การบูร 50 กรัม
● น้ำมันหอมระเหย 50 กรัม (เลือกกลิ่นที่ชอบ)
► วิธีใช้สมุนไพรดูดซับกลิ่นจากธรรมชาติ 100%
1. นำสมุนไพรข้อ 1-6 ซึ่งเป็นสมุนไพรอบแห้ง บดให้ละเอียดแล้วนำมาผสมกัน
2. นำน้ำมันหอมระเหยผสมสมุนไพร คนให้เข้ากันอย่าให้จับเป็นก้อน
3. หลังจากนั้นนำมาผสมเกลือ พิมเสนและการบูร บรรจุใส่ในบรรจุภัณฑ์ ปิดผนึกให้สนิทอย่าให้กลิ่นออก เมื่อต้องการใช้ให้แกะสมุนไพรดูดซับกลิ่นออกจากบรรจุภัณฑ์
► วิธีใช้สมุนไพรดูดซับกลิ่นจากธรรมชาติ 100%
●ใช้ดับกลิ่นห้อง ตู้เสื้อผ้า รถยนต์ ที่เหม็นอับชื้น เพิ่มความหอมสดชื่นจากกลิ่นหอมของสมุนไพรธรรมชาติ โดยแกะสมุนไพรดูดซับกลิ่นจากธรรมชาติออกมา แขวนทิ้งไว้
1. นำสมุนไพรข้อ 1-6 ซึ่งเป็นสมุนไพรอบแห้ง บดให้ละเอียดแล้วนำมาผสมกัน
2. นำน้ำมันหอมระเหยผสมสมุนไพร คนให้เข้ากันอย่าให้จับเป็นก้อน
3. หลังจากนั้นนำมาผสมเกลือ พิมเสนและการบูร บรรจุใส่ในบรรจุภัณฑ์ ปิดผนึกให้สนิทอย่าให้กลิ่นออก เมื่อต้องการใช้ให้แกะสมุนไพรดูดซับกลิ่นออกจากบรรจุภัณฑ์
► วิธีใช้สมุนไพรดูดซับกลิ่นจากธรรมชาติ 100%
●ใช้ดับกลิ่นห้อง ตู้เสื้อผ้า รถยนต์ ที่เหม็นอับชื้น เพิ่มความหอมสดชื่นจากกลิ่นหอมของสมุนไพรธรรมชาติ โดยแกะสมุนไพรดูดซับกลิ่นจากธรรมชาติออกมา แขวนทิ้งไว้
ข้อมูลเกี่ยวกับผลิตภัณฑ์
ชื่อสินค้า : ผลิตภัณฑ์สมุนไพรปรับกลิ่นอากาศ
ประเภท : ผลิตภัณฑ์แปรรูปจากสมุนไพร
ส่วนประกอบ : มะกรูด ถ่าน การบูร
ราคา : 25 บาท/ 1 ชิ้น
วัสดุหลัก : กระดาษสา
สี : เขียว ขวา
ขนาด : 8x12 เซนติเมตร
ผู้ผลิต : กลุ่มทำสมุนไพรและศิลป์ประดิษฐ์
ที่อยู่ : บ้านคลองมอญ ต.มะขามเฒ่า อ.วัดสิงห์ จ.ชัยนาท 17120
โทร : 056-475567,087-2071795
ธูปหอมอินธนู
1.ชื่อ-สกุล ผู้ประกอบการ
กลุ่มทำสมุนไพรและศิลประดิษฐ์
คุณ สินมงคล อินธนู (ประธานกลุ่ม)
2.ที่อยู่
58 ม.4 ต.มะขามเฒ่า อ.วัดสิงห์ จ.ชัยนาท 17120
3.หมายเลขโทรศัพท์
056-475567,087-2071795
4.e-mail/website
ไม่มี
ผลิตภัณฑ์
ผลิตภัณฑ์ปัจจุบันของกลุ่มทำสมุนไพรบ้านคลองมอญที่ต้องการนำมาเข้าร่วมโครงการออกแบบพัฒนาตราสัญลักษณ์และรูปลักษณ์บรรจุภัณฑ์เพื่อเชื่อมโยงการท่องเที่ยวเชิงวัฒนธรรมสำหรับผลิตภัณฑ์สุขภาพและความงามของกลุ่มวิสาหกิจชุมชน จังหวัดชัยนาท คือ ผลิตภัณฑ์ธูปหอมไล่ยุง ผลิตภัณฑ์จากธรรมชาติ บรรจุภัณฑ์ มี 3 ขนาด คือ
1. ขนาดเล็ก 9x29.5 cm.
2. ขนาดกลาง 9x38.5 cm.
3. ขนาดใหญ่ 9x40.5 cm.
กลุ่มทำสมุนไพรและศิลประดิษฐ์
คุณ สินมงคล อินธนู (ประธานกลุ่ม)
2.ที่อยู่
58 ม.4 ต.มะขามเฒ่า อ.วัดสิงห์ จ.ชัยนาท 17120
3.หมายเลขโทรศัพท์
056-475567,087-2071795
4.e-mail/website
ไม่มี
ผลิตภัณฑ์
ผลิตภัณฑ์ปัจจุบันของกลุ่มทำสมุนไพรบ้านคลองมอญที่ต้องการนำมาเข้าร่วมโครงการออกแบบพัฒนาตราสัญลักษณ์และรูปลักษณ์บรรจุภัณฑ์เพื่อเชื่อมโยงการท่องเที่ยวเชิงวัฒนธรรมสำหรับผลิตภัณฑ์สุขภาพและความงามของกลุ่มวิสาหกิจชุมชน จังหวัดชัยนาท คือ ผลิตภัณฑ์ธูปหอมไล่ยุง ผลิตภัณฑ์จากธรรมชาติ บรรจุภัณฑ์ มี 3 ขนาด คือ
1. ขนาดเล็ก 9x29.5 cm.
2. ขนาดกลาง 9x38.5 cm.
3. ขนาดใหญ่ 9x40.5 cm.
ข้อมูลทั่วไปเกี่ยวกับตัวผลิตภัณฑ์
1.ชื่อผลิตภัณฑ์ : สมุนไพรใช้จุดไล่ยุง
2. ประเภท : สมุนไพรที่ไม่ใช่อาหาร
3.ส่วนประกอบ : ตะไคร้หอม ขี้เลื่อย กาวผง
4. ประโยขน์ : เพื่อใช้จุดไล่ยุง
5. คุณสมบัติ : เป็นผลิตภัณฑ์จากธรรมชาติ ใช้จุดไล่ยุง ปลอดภัย ไม่มีสารตกค้าง
6. ผลิตโดย : กลุ่มทำสมุนไพรและศิลประดิษฐ์
7. ที่อยู่ : 58 หมู่ 4 ต.มะขามเฒ่า อ.วัดสิงห์ จ.ชัยนาท 17120 โทร. 056-475567,087-2071795
8.การจัดจำหน่าย : สวนนกชัยนาถ, ร้าน CEO, วัดปากคลอง
9.ราคา : ขนาดเล็ก (S) 20 บาท
ขนาดกลาง (M) 20 บาท
ขนาดใหญ่ (L) 20 บาท
ตราสัญลักษณ์และมาตรฐานที่ได้รับ
1. มาตรฐานผลิตภัณฑ์ชุมชน (มผช) ทะเบียนเลขที่ 181/2553
2. ช่วงปีที่ได้รับอนุญาติใช้ 2556-2557
3.เครื่องหมายโอทอประดับ 2 ดาว เมื่อปี 2556
ปัญหาที่ต้องการพัฒนา
จุดอ่อน : สมุนไพรต้องไม่อับชื่น เพราะถ้าหากฝนตกหรือเปียกจะทำให้เกิดเชื้อราได้
จุดแข็ง : เป็นสินค้าที่ชาวบ้านในชุมชนร่วมกันทำ สมุนไพรที่ใช้ผลิตเป็นสมุนไพรที่ชาวบ้าน ปลูกกันเอง ปลอดสารเคมียาฆ่าแมลง
อุปสรรค : ผลิตได้ช้า เพราะเป็นสินค้าทำด้วยมือ
โอกาส : อยากให้สินค้าส่งออกนอกจังหวัด
ความต้องการของผู้ประกอบการ
1. อยากให้ตัวบรรจุภัณฑ์สามารถมองเห็นตัวผลิตภัณฑ์ด้านในได้
2. อยากให้ออกแบบโลโก้ธูปหอมอินธนู
ปัจจุบันสภาพ/ปัญหาที่เกิดขึ้น/ความต้องการพัฒนาสินค้า
1.ปัจจุบันสภาพของบรรจุภัณฑ์เป็นถุงพลาสติกใสมีการเย็บแทกด้วยแม็กและมีการพิมพ์ข้อความโดยใช้กระดาษ 80 แกรม
2.ปัจจุบันสภาพของผลิตภัณฑ์เป็นแท่งทำมาจาก ตระไคร้หอมบดผสมกับกาวผงและขี้เลื่อย และนำมาปั้นให้ติดกับไม้ไผ่
ปัญหาที่เกิดขึ้น
1.ปัญหาเรื่องแบรนด์ของสินค้าเนื่องจากผู้ประกอบการต้องการใช้นามสกุลของตนเองเพื่อมาทำเป็นแบรนด์ของสินค้า
2. ผู้ประกอบการยังไม่มีความรู้ความเข้าใจในการออกแบบพัฒนาบรรจุภัณฑ์
ความต้องการพัฒนาผลิตภัณฑ์
1.ต้องการให้ออกแบบแบรนด์สินค้าเป็นธูปหอมอินธนู
2.ต้องการให้สินค้าส่งออกนอกจังหวัด
No comments:
Post a Comment